Sunday, November 18, 2007

การไหว้


วัฒนธรรมการไหว้

การไหว้ การแสดงความเคารพ ของคนไทยมีหลายลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะแสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูกต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพ ในที่นี้จะขอพูดถึง การแสดงความเคารพ 3 ลักษณะด้วยกันคือ 1. การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
2. ไหว้ (วันทนา/วันทา) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดังนี้ ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัย รวมทั้งปูชนียวัตถุ และปูชนียสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก (นิ้วหัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว) ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราคารพนับถืออย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว (หัวนิ้วแม่มือจรดปลายจมูก) ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้งผู้ที่เสมอกัน โดยประนมมือยกขึ้นให้ปลายนิ้วจรดปลายจมูก (นิ้วหัวแม่มืออยู่บริเวณคาง) หมายเหตุ ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน และการรับไหว้ให้ประนมมืออยู่ระหว่างอก
3. การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วศีรษะลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบนตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเร​​ียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่ 3.1 การกราบแบญจางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ 3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเ​​ข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ


งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ" ของจังหวัดเพชรบูรณ์ คนทั่วไปต่างมองว่า เป็นประเพณีที่แปลกมีคุณค่า ทางวัฒนธรรม ที่สำคัญมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แต่สำหรับชาวเพชรบูรณ์นอกจากจะมีมุมมองเช่นนั้นแล้ว ยังแฝงไปด้วยความเชื่อที่เปี่ยมล้นเต็มหัวใจด้วยว่า "เป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหลังประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ และยังปราศจาก โรคระบาดอีกด้วย" ซึ่งความเชื่อดังกล่าวสืบเนื่องมาจากตำนานที่ถูกเล่าขานกันมานาน

เมื่อ 400 ปีที่ทำให้ก่อกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ขึ้น โดยมีการเล่าสืบทอดกันต่อ ๆ มา ว่า เดิมมีชาวประมงกลุ่มหนึ่งมีอาชีพจับปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งชาวประมงกลุ่มนี้ ได้ออก หาปลาตามปกติเช่นทุกวัน แต่จู่ๆเกิดเหตุการณ์ ประหลาดขึ้นตั้งแต่เช้ายันบ่ายไม่มีใคร สามารถจับปลา ได้แม้แต่ตัวเดียว จนสร้างความงุนงงให้กับชาวประมงกลุ่มนี้มาก ทำให้ต่างก็ต้องไปนั่งปรับทุกข์ซึ่งกัน และกัน แต่ทันใดนั้นก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น เนื่องจากกระแสน้ำในบริเวณ "วังมะขามแฟบ" (หมายถึงต้นระกำ) ที่กำลังไหลเชี่ยวกราก เริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่ จากนั้นก็ค่อย ๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมา ทีละน้อยจนแลดูคล้ายน้ำเดือด จนกระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ค่อย ๆ ดูดเอาองค์พระพุทธรูป องค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ และมีลักษณะอาการคล้ายดำผุดดำ ว่ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวประมง กลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าว ขึ้นมาประดิษฐานไว้บนบกเพื่อกราบไหว้สักการะบูชา

แต่ในปีถัดมาซึ่งเป็นวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบตรงกับวันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวไว้ หายไปจนกระทั่งชาวบ้าน ต้องช่วยกันระดมหากันจ้าระหวั่น จนในที่สุดไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว กลางแม่น้ำป่าสักบริเวณวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่ายอยู่จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง พร้อมร่วมกันถวายนามว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา"

หลังจากนั้นต่อมาเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ในยุคสมัยนั้น จะต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ไปประกอบพิธี "อุ้มพระดำน้ำ" ที่บริเวณวังมะขามแฟบ หน้าวัดโบสถ์ชนะมารเป็นประจำทุกปี "เพราะต่างมีความเชื่อว่า หลังประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ ์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ผลดี แต่หากปีใดมีการละเลย นอกจากจะทำให้เกิดความแห้งแล้งแล้ว ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วย"


สำหรับ "พระพุทธมหาธรรมราชา" นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทอง สัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 13 นิ้วสูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อย จนจรดพระอังสาที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และประคตเป็นลวดลาย งดงามอีกทั้งแลดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด (อ.หล่มสัก) ได้รับพระราชทานจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางสิงขรมหาเทวี แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง (อ.นครไทย) พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ให้กับคนไทย ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวี แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับจากนั้นตัดสินใจกระโดด แม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสัก เพื่อหลบหนีไฟ แต่ปรากฎว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญ พระพุทธมหาธรรมราชาแตก จนองค์พระจมดิ่งลงสู้ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิด ตำนานมหัศจรรย์และ "ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ" ขึ้น
ปัจจุบันนี้ หากปีใดน้ำน้อย ก็จะอัญเชิญไปสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ทางเหนือเมือง เพชรบูรณ์ และการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงสรงน้ำ เจ้าเมืองผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้น หรือผู้แทนเป็นผู้อัญเชิญ (อุ้ม) ลงสรงน้ำและถือปฏิบัติกันต่อๆ มา ว่าอุ้มหันพระเนตรขึ้นเหนือน้ำ 3 หน หันพระเนตรลงใต้น้ำ 3 หน ฟ้าฝนปีต่อไปถึงจะตกต้องตามฤดูกาลบริบูรณ์ ซึ่งประชาชนพลเมือง อยู่เย็นเป็นสุข ผู้อัญเชิญจะต้องอธิษฐานขอพรขณะที่อัญเชิญลงสรงน้ำ ฯลฯงานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ" ของจังหวัดเพชรบูรณ์ คนทั่วไปต่างมองว่า เป็นประเพณีที่แปลกมีคุณค่า ทางวัฒนธรรม ที่สำคัญมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แต่สำหรับชาวเพชรบูรณ์นอกจากจะมีมุมมองเช่นนั้นแล้ว ยังแฝงไปด้วยความเชื่อที่เปี่ยมล้นเต็มหัวใจด้วยว่า "เป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหลังประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ และยังปราศจาก โรคระบาดอีกด้วย" ซึ่งความเชื่อดังกล่าวสืบเนื่องมาจากตำนานที่ถูกเล่าขานกันมานาน
ที่มา :
http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=679